top of page

บทความและอินโฟกราฟิก

Writer's pictureThidakarn Rujipattanakul

พฤติกรรมที่บอกว่าคุณติด "กินเค็ม"

พฤติกรรมที่บอกว่าคุณติด "กินเค็ม"

ใครมีมากกว่า 1 ข้อ ลองหาวิธีแก้ตามนี้กันดูนะคะ


  1. ชอบกินอาหารแปรรูปเป็นประจำ ยิ่งหากกินทุกวันยิ่งเสี่ยงต่อการได้รับโซเดียมเกิน ในกลุ่มของอาหารแปรรูปจะมีโซเดียมเป็นส่วนประกอบและมีปริมาณที่มากกว่าอาหารในกลุ่มของผัก ผลไม้สด รวมถึงกลุ่มข้าว ธัญพืช จากการศึกษาพบว่าคนในประเทศทางตะวันตกได้รับเกลือเกือบ 80 เปอร์เซนต์มาจากอาหารแปรรูป การที่อาหารแปรรูปเติมเกลือ (โซเดียม) เพื่อให้รสชาติเข้มข้น ยืดอายุการเก็บรักษา ผู้ที่ชอบกินอาหารแปรรูปมักจะชอบกินอาหารรสชาติเค็มมากกว่าผู้ที่ไม่ชอบกินอาหารแปรรูป

  2. เมื่อตรวจเลือดจะพบภาวะโซเดียมสูงในเลือด คือสูงมากว่า 145 mmol/L โดยอาการแสดงเช่น คอแห้ง กระหายน้ำ ปวดศีรษะ อารมณ์หงุดหงิด หากวัดความดันโลหิตจะพบความดันโลหิตสูง ซึ่งอาจก่อให้เกิดอันตรายต่อการไหลเวียนของเลือด ช็อก หมดสติได้

  3. บวม เนื่องมาจากเกลือสามารถทำให้เกิดการกักน้ำในร่างกายเพื่อใช้ในการละลายความเข้มข้นของโซเดียมสามารถสังเกตุได้จากท้องป่อง หน้าบวม แขนบวม

  4. เมื่อนึกถึงอาหารที่มีรสชาติเค็มจะมีน้ำลายผลิตออกมาในปาก และอยากอาหารขึ้นมา

  5. ชอบรับประทานอาหารรสจัด อาหารส่วนใหญ่ที่มีรสจัด เช่นเผ็ดจัด จะมีความเค็มตามมาด้วย

  6. ขนมหรือของว่างที่ชอบกินมักจะอยู่ในรูปของขนมกรุบกรอบ ขนมกระป๋อง เช่นมันฝรั่งทอดกรอบ ปลาหมึกกรอบ ถั่วทอด ขนมปังกรอบ

  7. ชอบเติมเกลือ ซีอิ๊ว น้ำปลา หรือซ๊อสต่างๆในอาหารก่อนกิน


ผศ.ดร.ฉัตรภา หัตถโกศล (อ.นุ่น) หนังสือกินแก้กรรม

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของโครงการเผยแพร่ความรู้สู่ประชาชน

ในชุดโครงการ “รวมพลัง ขยับกาย สร้างสังคมไทย ไร้พุง”

เครือข่ายคนไทยไร้พุง ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์แห่งประเทศไทย

สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)


Commenti


bottom of page