top of page

บทความและอินโฟกราฟิก

Writer's pictureThidakarn Rujipattanakul

Sedentary พฤติกรรมเนือยนิ่งที่ทำให้คุณอายุสั้นลง!

Updated: Dec 8, 2021

Sedentary Lifestyle คือ พฤติกรรมเนือยนิ่ง นั่งๆ นอนๆ ตลอดทั้งวัน

ในแต่ละวัน คุณนั่งกี่ชั่วโมงคะ? มีงานวิจัยชิ้นหนึ่งพบว่า

ถ้าคุณนั่งเกินกว่า 8 ชั่วโมงต่อวัน ความเสี่ยงอายุสั้นลงจะเพิ่มขึ้น 8% ในทุกชั่วโมงที่นั่ง ข้อมูลพบว่า ชาวอเมริกันนั่งเฉลี่ย 6.5 ชั่วโมงต่อวัน ชาวฝรั่งเศสนั่งถึง 10 ชั่วโมงต่อวัน


ส่วนคนไทยนั้น เคยมีงานวิจัยของจุฬาฯพบว่านั่งเฉลี่ยที่ 6 ชม. 23 นาที


❓พฤติกรรมเนือยนิ่งคืออะไร

พฤติกรรมเนือยนิ่ง (Sedentary behavior) คือ พฤติกรรมขณะตื่นที่ใช้พลังงานน้อยกว่าหรือเท่ากับ 1.5 METs ไม่ว่าจะอยู่ในท่านั่ง นอน หรือเอนตัวแบบต่างๆ


โดย 1 MET (Metabolic equivalent) คือ พลังงานที่เราใช้ในขณะพักนิ่งๆ


ดังนั้นพฤติกรรมประหยัดพลังงานในรูปแบบต่างๆ ไม่ว่าจะการนั่งดูทีวีนิ่งๆ นอนไถมือถือเนือยๆ หรือนั่งทำงานหน้าคอมทั้งวัน ล้วนจัดเป็นพฤติกรรมเนือยนิ่งที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพทั้งสิ้น โดยพบว่าคนที่มีพฤติกรรมเนือยนิ่งต่อวันมาก จะมีความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ เช่น

  • เบาหวาน

  • อ้วนลงพุง

  • ความดันโลหิตสูง

  • หลอดเลือดหัวใจ

  • ซึมเศร้า

  • ปวดหลัง

  • ไปจนถึงมะเร็ง และอายุขัยเฉลี่ยที่สั้นลง


❓จำเป็นต้องนั่งทำงานเนือยนิ่งทั้งวัน

ทำอย่างไรให้ Sedentary Lifestyle ไม่ส่ง จะลดผลเสียต่อสุขภาพ

  1. ออกกำลังกาย งานวิจัยพบว่าการออกกำลังหนักปานกลาง 60-75 นาทีต่อวัน จะช่วยลดผลเสียต่อสุขภาพที่เกิดจากการนั่ง 8 ชม.ต่อวันได้

  2. ลุกเดิน 2 นาที ทุก 20 นาที พบว่าการลุกเดินเป็นระยะ ได้ผลดีกว่าการใช้โต๊ะทำงานแบบยืน แต่ยืนนิ่งไม่ขยับเป็นเวลานาน

  3. ลองเปลี่ยนจากการนั่งคุยงาน เป็นเดินคุยงาน ถ้าสามารถทำได้

  4. หางานอดิเรก ที่ช่วยให้ได้ขยับร่างกายหลังเลิกงานหรือในวันหยุด เช่น ปลูกต้นไม้ เล่นเกมส์เต้น ทำอาหาร

  5. ดูแลน้ำหนักตัวไม่ให้เกินเกณฑ์ พบว่ายิ่งดัชนีมวลกายมาก ผลเสียที่เกิดจากพฤติกรรมเนือยนิ่งก็จะยิ่งมากขึ้นตามกัน


ถ้าร่างกายเรามีคู่มือการใช้งานสักหนึ่งเล่ม หมอเชื่อแน่ว่าข้อหนึ่งในคู่มือคือ เพื่อให้ร่างกายอยู่ในสถาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน โปรดขยับทุก 20 นาที! 👯‍♀️


พญ.ธิดากานต์ รุจิพัฒนกุล (หมอผิง)


อ้างอิง

1. Thivel, David, et al. "Physical activity, inactivity, and sedentary behaviors: definitions and implications in occupational health." Frontiers in public health 6 (2018): 288.

2. Ekelund, Ulf et al. “Does physical activity attenuate, or even eliminate, the detrimental association of sitting time with mortality? A harmonised meta-analysis of data from more than 1 million men and women.” Lancet (London, England) vol. 388,10051 (2016): 1302-10. doi:10.1016/S0140-6736(16)30370-1

3. https://www.emerald.com/…/10.1108/JHR-10-2019-0239/full/html


Sedentary Lifestyle คือ

Comments


bottom of page